ก้าวแรกสู่การวางแผนภาษี ฉบับชาว First Jobber
สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
เมื่อก้าวเข้าสู่โลกของการทำงาน ชาว First Jobbers อาจรู้สึกตื่นเต้นกับรายได้ก้อนแรกและความรับผิดชอบใหม่ ๆ ที่เข้ามา แต่อาจมองข้ามการวางแผนภาษี เพราะคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัวหรือซับซ้อนเกินไป แต่ความจริงแล้วถือเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของการวางแผนทางการเงิน โดยการวางแผนภาษีไม่เพียงแต่ช่วยในการประหยัดค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารเงิน ยังเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ ผ่านการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างถูกต้องและใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอย่างเหมาะสม
จุดเริ่มต้นของการเสียภาษี รู้ไว้ไม่พลาด
การเริ่มต้นทำงานเป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้น ขณะเดียวกันการเข้าใจเรื่องภาษีก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม โดยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นภาษีที่ผู้มีรายได้ต้องจ่ายจากรายได้ที่ได้รับ ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน โบนัส หรือรายได้อื่น ๆ ดังนั้น การรู้จักและเข้าใจภาษีจะช่วยให้สามารถวางแผนการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ และหลีกเลี่ยงปัญหาทางการเงินในอนาคต
การเตรียมตัวและวางแผนภาษีตั้งแต่เริ่มต้นทำงาน จะช่วยให้สามารถจัดการรายได้และค่าใช้จ่ายได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยให้สามารถใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีได้อย่างเต็มที่ เช่น การลดหย่อนภาษีจากการลงทุนหรือการบริจาค การเข้าใจเรื่องภาษีจึงเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการสร้างความมั่นคงทางการเงินในระยะยาว โดยเหตุผลหลัก ๆ ที่ต้องวางแผนภาษี มีดังนี้
ชาว First Jobbers ยื่นภาษีทุกคนหรือไม่
กรมสรรพากร ได้กำหนดให้ผู้ที่มีเงินได้เกิดขึ้นระหว่างปี ต้องมีหน้าที่ต้องยื่นภาษีเงินได้ ต่อเมื่อมีรายได้ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนด โดยการยื่นภาษี ไม่ได้หมายความว่าจะต้องจ่ายภาษีเสมอไป โดยมีเหตุผลดังนี้
เงินเดือนไม่เกิน 26,583.33 บาท ต้องยื่นภาษี แต่ไม่ต้องเสียภาษี
เงินเดือนมากกว่า 26,583.33 บาท ต้องยื่นภาษี และต้องเสียภาษี
กรณีที่มีเงินเดือนไม่เกิน 25,833.33 บาท และไม่ได้จ่ายเงินสมทบประกันสังคม ต้องยื่นภาษีแต่ไม่ต้องเสียภาษี
กรณีที่มีเงินเดือนเกิน 25,833.33 บาท และจ่ายเงินสมทบประกันสังคม ต้องยื่นภาษีและเสียภาษี
สำหรับการคำนวณภาษี เริ่มต้นด้วยการคำนวณหาเงินได้สุทธิที่ต้องเสียภาษี โดยนำเงินได้พึงประเมินทุกประเภทรวมกันตลอดปีภาษี หักด้วยค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด
สูตร เงินได้สุทธิตลอดทั้งปี
เงินได้สุทธิ = เงินได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน
ในการคำนวณภาระภาษีประจำปี ต้องพิจารณาหลายอย่างประกอบกัน เริ่มจากการรวมรายได้ทั้งปี ซึ่งส่วนใหญ่มาจากเงินเดือนที่ได้รับจากนายจ้าง จากนั้นสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 50% ของรายได้ แต่ไม่เกิน 100,000 บาท และยังมีค่าลดหย่อนส่วนตัวอีก 60,000 บาท อีกทั้ง ยังมีโอกาสลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น การลงทุนในกองทุนรวม การทำประกันชีวิต หรือการเข้าร่วมมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ
เมื่อหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนทั้งหมดแล้ว ก็จะได้ “เงินได้สุทธิ” ซึ่งเป็นฐานในการคำนวณภาษี โดยผู้ที่มีเงินได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาทต่อปี จะได้รับการยกเว้นภาษี ส่วนผู้ที่มีเงินได้สุทธิเกินกว่านั้น จะต้องเสียภาษีในอัตราก้าวหน้าตั้งแต่ 5% ไปจนถึง 35% ตามระดับรายได้
ลดภาษี เพิ่มเงินออม
การลดหย่อนภาษีอย่างมีประสิทธิภาพ มีความสำคัญต่อการบริหารการเงิน โดยไม่เพียงแต่ส่งผลดีในระยะสั้นด้วยการช่วยประหยัดเงินที่ต้องจ่ายภาษี เงินที่ประหยัดได้จากการลดหย่อนภาษีสามารถนำไปลงทุน ซึ่งก่อให้เกิดผลตอบแทนและการเติบโตของเงินทุนในอนาคตด้วย โดยรายการลดหย่อนภาษี มีดังนี้
ค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัวและครอบครัว
1.ค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัว ลดหย่อนได้ 60,000 บาท คนไทยใช้ได้หมดไม่ว่าจะอยู่ในสถานะโสด แต่งงานแบบจดทะเบียนสมรส หรือไม่ได้จดทะเบียนก็ตาม
2.ค่าลดหย่อนภาษีคู่สมรส ลดหย่อนได้ 60,000 บาท โดยต้องเป็นคู่สมรสและจดทะเบียนสมรส และคู่สมรสต้องไม่มีรายได้ถึงจะได้รับสิทธิลดหย่อนภาษีในส่วนนี้
3.ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตร ให้สิทธิภรรยาผู้มีเงินได้ใช้ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง ไม่เกินครรภ์ละ 60,000 บาท4.ค่าลดหย่อนภาษีบุตร ลดหย่อนภาษีได้คนละ 30,000 บาท กรณีเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย สามารถหักลดหย่อนได้ไม่จำกัดจำนวนคน แต่ถ้าเป็นบุตรบุญธรรม สามารถหักลดหย่อนได้ไม่เกิน 3 คน โดยมีเงื่อนไข ดังนี้
5.ค่าลดหย่อนสำหรับเลี้ยงดูบิดามารดาของตนเองและของคู่สมรส ถ้าต้องดูแลพ่อแม่ที่อายุเกินกว่า 60 ปีขึ้นไป และพ่อแม่มีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท จะได้รับสิทธิลดหย่อนภาษีไม่เกิน 30,000 ต่อคน และสิทธินี้ยังครอบคลุมไปถึงพ่อแม่ของคู่สมรสด้วย หมายความว่า ถ้าดูแลพ่อแม่ตัวเอง และพ่อแม่แฟนด้วย จะลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 120,000 บาท
6.ค่าลดหย่อนภาษีกรณีอุปการะผู้พิการหรือบุคคลทุพพลภาพ ถ้าต้องดูแลผู้พิการที่บ้านไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ บุตร สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท แต่ผู้พิการหรือทุพพลภาพจะต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000บาท ด้วย และต้องมีหลักฐานว่าคุณเป็นผู้อุปการะจริง ๆ ผ่านใบรับรองแพทย์ หรือว่าบัตรประจำตัวคนพิการ
ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มประกัน เงินออม และการลงทุน
1.ประกัน
เมื่อรวมกันไม่เกิน 100,000 บาท
2.กลุ่มการลงทุน และประกันชีวิตเพื่อการเกษียณอายุ
จำนวนเงินลงทุนในหมวดหมู่นี้เมื่อรวมกันไม่เกิน 500,000 บาท
3.เงินประกันสังคม ลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 9,000 บาท
4.เบี้ยประกันสุขภาพของบิดามารดา ถ้าทำประกันให้พ่อแม่ สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท และบิดามารดาต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปีด้วย
5.กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (Thai ESG) สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ 30% ของเงินได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 300,000 บาท เป็นวงเงินแยกต่างหาก โดยไม่ต้องนับรวมกับเงินลงทุนเพื่อการเกษียณอายุอื่น ๆ ซึ่งเกณฑ์การถือครองหน่วยลงทุน ต้องถือหน่วยลงทุนเกินกว่า 5 ปีขึ้นไป (นับจากวันที่ซื้อหน่วยลงทุน)
6.เงินลงทุนธุรกิจวิสาหกิจเพื่อสังคม ถ้าทำธุรกิจเพื่อสังคมหรือซื้อหุ้นกลุ่มดังกล่าวตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นไป สามารถนำเงินลงทุนไปเป็นค่าลดหย่อนภาษีได้ตามจริง สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท
ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มเงินบริจาค
ค่าลดหย่อนกลุ่มกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ ถ้ารัฐบาลมีโครงการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ก็สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ หรือดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อหรือสร้างที่อยู่อาศัย สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ตามค่าใช้จ่ายจริงไม่เกิน 100,000 บาท
ชาว First Jobbers อย่าเพิ่งคิดว่าเพราะเพิ่งเริ่มทำงานและอาจจะมีรายได้ไม่สูงนัก การวางแผนภาษีจึงไม่สำคัญ แต่ในความเป็นจริง ถึงแม้เงินเดือนอาจจะยังไม่มาก แต่การเริ่มต้นวางแผนภาษีตั้งแต่วันนี้จะสร้างผลประโยชน์มหาศาลในระยะยาว ที่สำคัญการละเลยเรื่องภาษีอาจนำมาซึ่งผลเสียที่คาดไม่ถึง
การเริ่มต้นวางแผนภาษี ไม่เพียงแต่จะช่วยให้ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างถูกต้อง แต่ยังเป็นการวางรากฐานสำหรับความมั่นคงทางการเงินในอนาคต เริ่มต้นวางแผนภาษีตั้งแต่วันนี้ เพื่ออนาคตที่สดใสกว่าในวันข้างหน้า
ติดตามความรู้และข่าวสารสมาคมนักวางแผนการเงินไทย ได้ที่ LINE@cfpthailand, สมาคมนักวางแผนการเงินไทย Facebook Fanpage และ www.tfpa.or.th
บทความที่เกี่ยวข้อง