3 ทักษะการเงินเพื่อสร้างอนาคตที่มั่งคั่งให้ลูก
ณัฐ เลิศมงคล นักวางแผนการเงิน CFP®
ปัญหาหนี้ครัวเรือนที่พุ่งสูงขึ้นจนภาครัฐต้องออกมาตรการต่าง ๆ มาช่วยเหลือ เช่น ลดค่าผ่อนขั้นต่ำหนี้บัตรเครดิต ขยายเวลาชำระหนี้เพื่อลดค่าผ่อนต่องวด รวมถึงการเข้าไปช่วยเหลือเจรจาไกล่เกลี่ยสำหรับหนี้นอกระบบ ทำให้หลายคนเริ่มให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการเงินเพื่อป้องกันปัญหาหนี้สิน ส่วนผู้ไม่มีปัญหาหนี้สินก็เริ่มต่อยอดความรู้ทางการเงิน โดยเริ่มเก็บออมลงทุนเพื่อวัยเกษียณ และต้องการให้บรรจุความรู้ทางการเงินเข้าไปในหลักสูตรเพื่อให้เด็ก ๆ ได้ศึกษาเรื่องเงินตั้งแต่อายุยังน้อยจะได้มีทักษะทางการเงินที่ดีต่อไปในอนาคต ซึ่งการสร้างทักษะทางการเงินให้กับเด็ก ๆ ในแบบที่สามารถทำเองได้ที่บ้าน และนำไปประยุกต์สร้างอนาคตทางการเงิน มีดังนี้
สอนให้ลูกรู้คุณค่าของเงิน
การทำให้ลูกรู้คุณค่าของเงินเริ่มจากการชวนตั้งคำถาม และสังเกต เกี่ยวกับเงินในชีวิตประจำวัน เงินคืออะไร สำคัญกับตัวเองและการใช้ชีวิตขนาดไหน เพื่อให้เด็ก ๆ เห็นความเชื่อมโยงของเงินกับชีวิตประจำวัน
เงิน คือ สื่อกลางในการแลกเปลี่ยน สามารถนำเงินไปแลกสินค้าและบริการได้ การดำเนินชีวิตในปัจจุบันต้องใช้เงินสำหรับค่าอาหาร เครื่องดื่ม การเดินทาง สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ถ้าไม่มีเงิน คงจะกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวันไม่มากก็น้อย เมื่อเด็ก ๆ ได้เห็นความเชื่อมโยงแล้วก็จะเริ่มเห็นความสำคัญของเงินมากขึ้น อยากรู้เรื่องเงินมากขึ้น ซึ่งในส่วนของวิธีการทำให้ลูกรู้คุณค่าเงิน สามารถสร้างการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้ เช่น
นอกจากกิจกรรมสำหรับลูกที่ยกตัวอย่างมาข้างต้นแล้ว พ่อกับแม่ ควรเป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูกในเรื่องการรู้คุณค่าของเงิน คิดก่อนจ่ายว่าเป็นสิ่งจำเป็น หรือแค่อยากได้ เมื่อได้ของมาแล้วก็ควรใช้อย่างระมัดระวัง ดูแลซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพที่ดีเสมอ อย่าลืมว่า เด็ก ๆ มักเลียนแบบพฤติกรรมของพ่อกับแม่โดยไม่รู้ตัว
สอนให้ลูกรู้จักออม
ทุกคนเคยถูกสอนให้ออมเงินมาตั้งแต่ยังเด็ก โดยพ่อแม่พาไปเปิดบัญชีเพื่อฝากเงินกับธนาคารแล้วจะได้กระปุกออมสินเพื่อนำเงินค่าขนมส่วนที่เหลือไปหยอดกระปุกทุกวัน เมื่อเงินเต็มกระปุกก็จะนำเงินที่เก็บได้ไปฝาก จะเห็นได้ว่าการออมในวัยเด็กที่ผ่านมา เป็นการออมโดยไม่มีเป้าหมายชัดเจน ไม่มีการวางแผนล่วงหน้า บางครั้งในระหว่างการออมกลับรู้สึกไม่ดี เนื่องจากไม่ได้ใช้เงินอย่างที่ต้องการ ทั้งหมดนี้ทำให้ไม่สามารถสร้างนิสัยการออมขึ้นมาได้
กระบวนการสร้างวินัยการออมสำหรับเด็กเป็นสิ่งที่ต้องทำอย่างเป็นขั้นเป็นตอน เริ่มจากการสร้างนิสัยในการออมเป็นประจำ กระปุกออมสินสามารถยังใช้ได้อยู่ อย่าลืมสร้างความสนุกสานระหว่างการออมด้วย เช่น
นอกจากนี้พ่อแม่ควรเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูกในการออมเงิน โดยการตั้งเป้าหมายการออมทั้งของตนเองและครอบครัว มีการจดบันทึกรายรับรายจ่ายครอบครัว และใช้โอกาสนี้พูดคุยเรื่องสถานการณ์ทางการเงินของที่บ้านให้ลูกได้รับรู้ไปพร้อม ๆ กัน
สอนให้ลูกรู้จักหาเงิน
ในอดีตคนส่วนใหญ่มีรายได้จากการประกอบอาชีพเพียงอย่างเดียวตามสาขาวิชาที่เรียนมา เช่น เป็นข้าราชการ เป็นพนักงานบริษัท แต่ในปัจจุบันที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น ทำให้โอกาสในการหารายได้เปิดกว้างมากขึ้น เด็ก ๆ จึงมีโอกาสได้เรียนรู้ฝึกฝนทักษะใหม่ ๆ รวมถึงมีช่องทางในการหารายได้ตั้งแต่อายุยังน้อย ไม่จำเป็นต้องรอจนโต เรียนจบแล้วไปทำงานประจำอีกต่อไป สิ่งที่พ่อแม่ในยุคปัจจุบันต้องทำเพื่อจะแนะนำวิธีการหาเงิน คือ ต้องเปิดใจรับและศึกษาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ให้ทัน สำหรับคนที่ไม่ถนัดเรื่องการใช้เทคโนโลยี ก็สามารถหาเงินได้จากกิจกรรมเหล่านี้
สิ่งที่ควรสอนเพิ่มเติมในเรื่องการหาเงิน คือ ในระหว่างการสอนเรื่องหาเงิน ควรสอดแทรกเรื่องการแบ่งปัน และเสียสละด้วย เพื่อไม่ให้เด็ก ๆ มุ่งมั่นหาเงินจนไม่ยอมช่วยงานบ้าน หรือไม่ช่วยเหลือคนอื่น เนื่องจากวัตถุประสงค์หลักของการสอนให้รู้จักหาเงิน คือ ต้องการให้เด็ก ๆ รู้จักช่องทางการทำงานผ่านกิจกรรมที่ชอบในอนาคตได้เอง
คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถใช้ช่องทางเหล่านี้เพื่อหาเงินพิเศษได้เช่นกัน ลองค้นหาความชอบของตัวเองให้พบ เปิดใจเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อาจทำให้พบกับช่องทางหาเงินเพิ่มเติมให้กับครอบครัวได้เหมือนกัน
ข้อควรระวังในการสอนทักษะการเงิน
การสอนทักษะการเงินให้เด็ก ไม่ใช่เรื่องยาก ไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นด้วยตัวเลขและสมการที่ซับซ้อน สามารถเริ่มต้นจากกิจกรรมในชีวิตประจำวันง่าย ๆ ที่เด็ก ๆ สัมผัสได้ กิจกรรมเหล่านี้จะช่วยให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องการเงินอย่างเป็นธรรมชาติ เข้าใจคุณค่าของเงินได้ดียิ่งขึ้น และที่สำคัญ คือ คุณพ่อ คุณแม่ อย่าลืมเป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูกได้เรียนรู้ประสบการณ์ตรง หวังว่าผู้อ่านทุกท่าน จะนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ของแต่ละครอบครัวต่อไป เพื่อให้เด็ก ๆ มีทักษะทางการเงินพร้อมสำหรับเผชิญหน้ากับโลกแห่งความจริงในอนาคตต่อไป
ติดตามความรู้และข่าวสารสมาคมนักวางแผนการเงินไทย ได้ที่ LINE@cfpthailand, สมาคมนักวางแผนการเงินไทย Facebook Fanpage และ www.tfpa.or.th
บทความที่เกี่ยวข้อง