แนวโน้มอุตสาหกรรมเม็ดพลาสติกชีวภาพไทย 

โดย K-Research

แนวโน้มอุตสาหกรรมเม็ดพลาสติกชีวภาพไทย 

โดย K-Research
Article_k-research_190824
Industry Analysis and Outlook : No.01 - 19 สิงหาคม 2567

ดร.รุจิพันธ์ อัสสะรัตน์ ผู้บริหารงานวิจัย

 ในปี 2567 อุปสงค์เม็ดพลาสติกชีวภาพโลกมีโอกาสขยายตัวร้อยละ 16 จากกฎระเบียบสิ่งแวดล้อมโลกที่เข้มงวดขึ้น หลังเติบโตชะลอจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ซบเซาในช่วงที่ผ่านมา ผลักดันให้ส่วนแบ่งตลาดเม็ดพลาสติกชีวภาพเพิ่มขึ้นแตะร้อยละ 0.3 ของปริมาณความต้องการเม็ดพลาสติกทุกประเภทในตลาดโลก
 
ในขณะที่กำลังการผลิตเม็ดพลาสติกชีวภาพโลกในปี 2567 จะเพิ่มขึ้นเป็น 1.6 ล้านตันต่อปี หรือเพิ่มขึ้น 280,000 ตันต่อปี ทั้งนี้ ในช่วงการระบาดของโควิด-19 ผู้ผลิตเม็ดพลาสติกชีวภาพได้ชะลอการลงทุนโรงงานใหม่ แต่อุปสงค์ในตลาดโลกที่กลับมาเร่งเติบโต ทำให้ผู้ผลิตต่างเริ่มหันกลับมาลงทุนอีกครั้ง

สำหรับแนวโน้มอุตสาหกรรมเม็ดพลาสติกชีวภาพไทย ผลผลิตเม็ดพลาสติกชีวภาพไทยในปี 2567 คาดเติบโตร้อยละ 22 แรงหนุนจากการส่งออกที่ฟื้นตัวกว่าร้อยละ 26 ทว่าก็ยังต้องเผชิญการแข่งขันกับคู่แข่ง โดยเฉพาะประเทศจีนที่กำลังขยายกำลังการผลิตเม็ดพลาสติกชีวภาพ ในขณะที่ยอดขายในประเทศน่าจะเติบโตจำกัดเพียงร้อยละ 4.2 จากราคาที่ยังคงสูงกว่าเม็ดพลาสติกทั่วไปอยู่ราว 2-3 เท่า ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากแนวโน้มต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มสูงขึ้น

ราคาเม็ดพลาสติกชีวภาพที่ยังคงสูง ทำให้ตลาดเป้าหมายจำกัดอยู่แต่เพียงกลุ่มผู้ประกอบการรายใหญ่ โดยเฉพาะกลุ่มโรงแรม ร้านอาหารและเครื่องดื่ม ที่หันมาใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพมากขึ้น เช่น ช้อน/ส้อม หลอดดูด และจาน/ชาม เป็นต้น

Disclaimers รายงานวิจัยนี้จัดทำโดย บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด (KResearch) เพื่อเผยแพร่เป็นการทั่วไป โดยอาศัยแหล่งข้อมูลสาธารณะ หรือ ข้อมูลที่เชื่อว่ามีความน่าเชื่อถือที่ปรากฏขณะจัดทำ ซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ในแต่ละขณะเวลา ทั้งนี้ KResearch มิอาจรับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ ความเหมาะสม ความครบถ้วนสมบูรณ์ หรือความเป็นปัจจุบันของข้อมูลดังกล่าว และไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อชี้ชวน เสนอแนะ ให้คำแนะนำ หรือจูงใจในการตัดสินใจเพื่อดำเนินการใดๆ แต่อย่างใด ดังนั้น ท่านควรศึกษาข้อมูลด้วยความระมัดระวังและใช้วิจารณญาณอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจใดๆ KResearch จะไม่รับผิดในความเสียหายใดที่เกิดขึ้นจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว 

ข้อมูลใดๆ ที่ปรากฎในรายงานวิจัยนี้ถือเป็นทรัพย์สินของ KResearch และ/หรือบุคคลที่สาม (แล้วแต่กรณี) การนำข้อมูลดังกล่าว (ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน) ไปใช้ต้องแสดงข้อความถึงสิทธิความเป็นเจ้าของแก่ KResearch และ/หรือบุคคลที่สาม (แล้วแต่กรณี) หรือแหล่งที่มาของข้อมูลนั้นๆ ทั้งนี้ ท่านจะไม่ทำซ้ำ ปรับปรุง ดัดแปลง แก้ไข ส่งต่อ เผยแพร่ หรือกระทำในลักษณะใดๆ เพื่อวัตถุประสงค์ในทางการค้า โดยไม่ได้รับอนุญาตล่วงหน้า เป็นลายลักษณ์อักษรจาก KResearch และ/หรือบุคคลที่สาม (แล้วแต่กรณี)


  บทความที่เกี่ยวข้อง