เป็นหนี้ ต้องเคลียร์หนี้ อย่าหนีหนี้
มานพ รัตนะ นักวางแผนการเงิน CFP® สมาคมนักวางแผนการเงินไทย
คำโบราณว่าไว้ “การไม่มีหนี้ เป็นลาภอันประเสริฐ” อาจจะนำมาใช้กับยุคปัจจุบันไม่ได้แล้ว เพราะการเป็นหนี้ไม่ใช่สิ่งเลวร้ายเสมอไป เนื่องจากบางครั้งเราอาจต้องใช้เงินเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการที่จำเป็นต่อการดำรงชีพและอนาคตแต่ยังมีเงินไม่พอ เช่น ต้องการซื้อบ้าน เงินทุนสำหรับการทำกิจการส่วนตัว ซึ่งหลักการสำคัญในการตัดสินใจเป็นหนี้คือ ควรเลือกก่อหนี้ดี ได้แก่ หนี้ที่จะสร้างอนาคตหรือความมั่นคงในระยะยาว และหลีกเลี่ยงการก่อหนี้เสีย ได้แก่ หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เพิ่มหรือไม่ได้ช่วยให้เกิดความมั่นคงทางการเงิน เช่น หนี้เพื่อการอุปโภคบริโภค เป็นต้น
เข้าใจ “หนี้ดี” และ “หนี้เสีย”
หนี้ดี คือ หนี้ที่จะสร้างรายได้ในอนาคตหรือสร้างความมั่นคงในระยะยาว เช่น
หนี้เสีย คือ หนี้ที่ไม่สร้างรายได้ในอนาคต และอาจจะทำให้ความมั่นคงลดลงอีกด้วย เช่น
เมื่อเข้าใจความแตกต่างของหนี้ดีและหนี้เสีย ก็สามารถที่จะหลีกเลี่ยงการสร้างหนี้เสีย ในขณะเดียวกันก็สร้างหนี้ดี เพื่อเป็นเส้นทางไปสู่อนาคตที่มั่นคงขึ้น
สำรวจ “หนี้” ของตัวเอง
หากเป็นหนี้แล้ว ไม่ควรชะล่าใจ เพราะดอกเบี้ยอาจส่งผลกระทบต่อกระแสเงินสดในอนาคตได้ จึงควรหมั่นตรวจสอบยอดหนี้ทั้งหมด หากมีหนี้ก้อนเดียว ก็ไม่มีปัญหา แต่หากมีหนี้หลายก้อน ให้ทำการสำรวจยอดหนี้แต่ละก้อนว่าคงเหลือเท่าไหร่ อัตราดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย และระยะเวลาที่ต้องชำระคืน จากนั้นนำมาใส่ลงในตารางสรุปยอดหนี้ (ภาพที่ 1) เพื่อจัดลำดับหนี้สินจากน้อยไปมาก เพื่อให้สามารถวิเคราะห์และบริหารจัดการหนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ภาพที่ 1 : ตัวอย่างตารางสรุปยอดหนี้
ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้สามารถวิเคราะห์กลยุทธ์ในการบริหารจัดการหนี้ได้ คือ “การจดบันทึกรายรับ-รายจ่าย” ซึ่งจะช่วยให้มองเห็นเงินที่จะไหลเข้ามา และเงินคงเหลือในแต่ละเดือน นำมาซึ่งการวางแผนในการชำระหนี้แต่ละก้อนได้เป็นอย่างดี
ตั้งเป้าหมายการจัดการหนี้
เมื่อเราจดบันทึกรายรับ-รายจ่ายอย่างเป็นระบบแล้ว จะรู้ว่าในแต่ละเดือนจะมีกระแสเงินสดเหลืออีกเท่าไหร่ ก็สามารถหาวิธีการจัดการหนี้ที่เหมาะกับตัวเองได้ สิ่งสำคัญ คือ ต้อง “ตั้งเป้าหมายการจัดการหนี้” โดยอาจมีการให้รางวัลเล็ก ๆ กับตนเองก็ได้ เช่น ชำระหนี้บัตรเครดิตให้หมดภายใน 1 ปี หากทำได้ จะไปทานอาหารมื้อพิเศษเพื่อเป็นรางวัลในการพิชิตเป้าหมายนี้ได้ หรือใช้ตั้งเป้าหมายที่เรียกว่า SMART
S – Specific: เป้าหมายควรมีความเฉพาะเจาะจง เช่น ต้องการปลดหนี้บัตรเครดิตทั้งหมดภายใน 12 เดือน
M - Measurable: เป้าหมายควรวัดผลได้ เช่น ต้องการลดจำนวนหนี้ลง 10,000 บาทต่อเดือน
A - Achievable: เป้าหมายควรเป็นไปได้จริง เช่น จะหางานเสริมเพื่อหารายได้เพิ่ม 5,000 บาทต่อเดือน
R - Relevant: เป้าหมายควรเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ทางการเงินของคุณ เช่น จะลดค่าใช้จ่ายด้านอาหารลง 2,000 บาทต่อเดือน
T - Time-bound: เป้าหมายควรมีกรอบเวลาที่ชัดเจน เช่น จะออมเงิน 100,000 บาท ภายใน 2 ปี
กลยุทธ์การจัดการหนี้ที่มีประสิทธิภาพ
สิ่งสำคัญในการจัดการหนี้ คือ ต้องหยุดสร้างหนี้เพิ่ม จากนั้นสรุปรายการหนี้ทั้งหมด หากมีหนี้หลายก้อน ให้รีบเคลียร์หนี้ก้อนที่ดอกเบี้ยมากที่สุดก่อน แต่บางครั้งหากมีหนี้บางก้อนเหลือไม่มาก การเลือกที่จะเคลียร์หนี้ก้อนเล็กออกไปก่อนก็ช่วยให้มีกำลังใจในปลดหนี้ก้อนอื่น ๆ ด้วย (เนื่องจากจำนวนของหนี้ลดลง) ทั้งนี้ สามารถเลือกกลยุทธ์ที่เหมาะสมในการจัดการกับหนี้ได้ เช่น
สุดท้าย พึงระลึกไว้ว่าอย่านำเงินไปจ่ายหนี้ทั้งหมด แต่ให้แบ่งเงินส่วนหนึ่งเก็บออม และเมื่อเห็นจำนวนเงินในบัญชีที่ค่อย ๆ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ก็จะเป็นกำลังใจให้เราในการต่อสู้กับชีวิตต่อไป และเมื่อใดที่มีโอกาสในการลงทุนต่อยอด ก็ยังมีเงินสำรองในการเพิ่มความมั่งคั่งได้อีกด้วย
ติดตามความรู้และข่าวสารสมาคมนักวางแผนการเงินไทย ได้ที่ LINE@cfpthailand, สมาคมนักวางแผนการเงินไทย Facebook Fanpage และ www.tfpa.or.th
บทความที่เกี่ยวข้อง