มีเท่าไหร่ ใช้เท่านั้น” ชีวิตจริง หรือแค่คำปลอบใจ
ณัฐศรันย์ ธนกฤตภิรมย์ นักวางแผนการเงิน CFP®
ปัจจุบันการดำรงชีวิตของคน ๆ หนึ่งในสังคม พยายามขับเคลื่อนชีวิตให้ดีขึ้นจากชีวิตความที่เป็นอยู่ผ่านหน้าที่การงานและรายได้ที่หามาได้ แต่ไม่ว่าจะอยู่ในกลุ่มธุรกิจหรือสายอาชีพใดก็ตาม ก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงกับปัญหาสภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และส่งผลกระทบกับสภาวะการเงินส่วนบุคคล จนทำให้บางคนเริ่มเหนื่อยกับการหารายได้ เพื่อให้เพียงพอต่อการใช้จ่าย เมื่อเกิดความท้อแท้และเหนื่อยล้ากับการหารายได้ อาจมีคำพูดผุดขึ้นมาเช่น
เชื่อว่าหลายครั้ง ๆ ที่เกิดความท้อแท้ หาเงินไม่ทันจะบอกตัวเองว่า “มีเท่าไหร่ ก็ใช้เท่านั้น” และเป็นคำพูดติดปากของใครหลายคนไปแล้ว แต่คำกล่าวนี้ จะสามารถเป็นนิยามในการใช้ชีวิตที่ดี หรือเป็นเพียงแค่คำปลอบใจในการใช้ชีวิตกันแน่ และแนวคิดนี้จะเป็นแนวคิดที่เป็นไปได้มากน้อยเพียงใด ในการสร้างชีวิตที่ดี เราลองมาหาคำตอบและทำความเข้าใจเพิ่มเติม
โดยกำหนดตัวเลขขึ้นมาเพื่อใช้แทนค่าในวิธีคิดดังกล่าว ซึ่งอาจทำให้ได้เห็นวิธีคิดที่แตกต่างไปจากเดิม
บริบทที่ 1 หาเงินได้เท่าไหร่ ใช้เท่านั้น ซึ่งหมายความว่า หาเงินได้ 100 บาท ใช้ 100 บาท
สมการ 100 – 100 = 0
คำตอบที่ได้ คือ 0 หรือเรียกว่า ความพอดี
บริบทที่ 2 หาเงินให้มาก ใช้ให้น้อย ซึ่งหมายความว่า หาเงินได้ 100 บาท ใช้จ่าย 99 บาท
สมการ 100 – 99 = 1
คำตอบที่ได้ คือ 1 หรือเรียกว่า ความมั่งมี
บริบทที่ 3 หาเงินให้น้อย ใช้ให้มาก ซึ่งหมายความว่า หาเงินได้ 99 บาท ใช้จ่าย 100 บาท
สมการ 99 – 100 = -1
คำตอบที่ได้ คือ -1 หรือเรียกว่า ความลำบาก
เปรียบเทียบความสามารถในการหายรายได้แต่ละบริบท
วิเคราะห์ผลของแต่ละบริบท
1.หาเงินได้เท่าไหร่ ใช้เท่านั้น หมายถึง คุณสามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติ ในช่วงเวลานั้น ๆ หากมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านสภาพแวดล้อมและเศรษฐกิจ อาจส่งผลเสียในการดำรงชีวิตในระยะยาว เพราะไม่ได้เตรียมการอะไรไว้ล่วงหน้า
3.หาเงินได้น้อย ใช้ให้มาก หมายถึงจะดำรงชีวิตแบบวันต่อวัน และมีแต่ความกังวลใจในการใช้ชีวิต และหากมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านสภาพแวดล้อมและเศรษฐกิจ ก็จะได้รับผลกระทบเร็วที่สุด
สรุปผลกระทบต่อการดำรงชีพของแต่ละบริบท ในระยะเวลาที่ต่างกัน
แนวทางในการจัดการที่ทำได้ง่ายที่สุด สำหรับ บริบทที่ 1 (หาเงินได้เท่าไหร่ ใช้เท่านั้น) กับบริบทที่ 3 (หาเงินให้น้อย ใช้ให้มาก) ก็คือ ต้องลดภาระค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลงและต้องสร้างรายได้เพิ่มขึ้นเพื่อรองรับกับอนาคตที่กำลังจะมาถึง อย่าพยายาม “อดมื้อ กินมื้อ” เพื่อให้มีชีวิตแบบวันต่อวัน ถ้ายังทำแบบเดิมต่อไป คุณอาจจะไม่สามารถปรับตัวกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้
ติดตามความรู้และข่าวสารสมาคมนักวางแผนการเงินไทย ได้ที่ LINE@cfpthailand, สมาคมนักวางแผนการเงินไทย Facebook Fanpage และ www.tfpa.or.th
บทความที่เกี่ยวข้อง